วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว












พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อคนและสัตว์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งอาหารและอากาศซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนและสัตว์และยังช่วยสร้างสมดุลให้แก่
ธรรมชาติ ซึ่งพืชในโลกนี้มีอยู่มากมายหลายชนิด นักวิทยาศาสตร์จึงได้ใช้เกณฑ์ต่าง ๆ ในการจัดหมวดหมู่พืช เกณฑ์ที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่พืชที่แสดงถึงสายสัมพันธ์
ุของพืชที่ใกล้ชิดที่สุดคือ การจำแนกพืชโดยการสืบพันธุ์ ซึ่งทำให้สามารถแบ่งพืชได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ พืชมีดอก และพืชไม่มีดอก

พืชมีดอก หมายถึง พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกไว้สำหรับสืบพันธุ์ จัดเป็นพืชชั้นสูง ได้แก่พืชส่วนมากที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป เช่น มะม่วง ลำไย กุหลาบ มะลิ ถั่ว พริก ข้าว กล้วย อ้อย ข้าวโพด
พืชไม่มีดอกหรือพืชไร้ดอก หมายถึง พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วไม่มีดอก จัดเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการต่ำกว่าพืชมีดอก มีจำนวนชนิดไม่มากเท่าพืชมีดอก เราจึงพบได้น้อยกว่าพืชมีดอก เช่น มอสส์ เฟิร์น สน ปรง แป๊ะก๊วย หวายทะนอย หญ้าถอดปล้อง(หญ้าหางม้า)

เนื้อหา
พืชมีดอก ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว คือพืชที่มีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นชัดเจน ใบมักมีลักษณะแคบเรียว เส้นใบเรียงตัวในแนวขนาน กลีบดอกมีจำนวน 3 กลีบ หรือทวีคูณของ 3 รากเป็นระบบรากฝอย ตัวอย่างพืชใบเลี้ยวเดี่ยว เช่น ข้าวโพด อ้อย หญ้า ไผ่เป็นต้น


ที่มา school.obec.go.th/newmultimedia/unit2.html  
        01/01/2556

ระบบนิเวศแบบทะเลทราย



ระบบนิเวศแบบทะเลทราย

ทะเลทรายครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 18% ของพื้นที่โลก อยู่ในบริเวณเส้นรุ้ง ที่ 10 องศาเหนือและใต้
มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี มีอัตราการระเหยของน้ำสูงกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา 5-7 เท่า
อุณหภูมิในช่วงกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด บางส่วนของทะเลทรายจะถูกน้ำกัดเซาะ
เป็นแอ่งทำให้สามารถรองรับน้ำฝนไว้ให้สัตว์ทะเลทรายใช้ได้ ปัจจัยจำกัด ที่สำคัญของทะเลทรายคือ
น้ำ ส่วนแร่ธาตุต่างๆ ในดิน ความเค็มและสารอินทรีย์บางชนิดอาจเป็นปัจจัยจำกัดได้บ้าง สภาพแวดล้อม
ไม่เหมาะกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต จึงพบจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต จึงพบจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต
ค่อนข้างน้อย สิ่งมีชีวิตในทะเลทรายจะต้องปรับตัวทางโครงสร้าง ทางสรีระและพฤติกรรมเพื่อให้
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างกันดาร 


ที่มา  kamolchanokpumeegeo29.blogspot.com/2012/.../blog-post_20.h  วันที่  1 กุมพาพัน  2556


ส่วนประกอบของต้นไม้

  • ปม (node) หมายถึงสิ่งที่เก็บสมาชิกของต้นไม้
  • ราก (root) หมายถึงปมที่เราใช้เริ่มค้นหาภายในต้นไม้ ถ้าเป็น null หมายถึงต้นไม้ว่าง (empty tree)
  • ปมลูก (child node) หมายถึงปมที่แตกออกมาจากของปมดังกล่าว ส่วนปมที่ปมดังกล่าวแตกมาเรียกว่า ปมพ่อ (parent node) และเรียกปมพ่อของปมพ่อว่า ปมปู่ (grandparent node) และเรียกตามลำดับการนับญาติฝ่ายพ่อไปเรื่อยๆ ส่วนปมลูกของปมลูกก็จะเป็นปมหลาน (grandchild node) ไปเรื่อยๆ ตามลำดับการเรียกญาติฝ่ายลูก
  • ปมที่มีปมพ่อเป็นปมเดียวกันเรียกว่า ปมพี่น้อง (sibling node)
  • ปมที่มี m ลูก เราจะเรียกว่า ปมแบบ m (m-type node)
  • ใบ (leaf node) หมายถึงปมที่ไม่มีปมลูก
  • การเขียนต้นไม้มักเขียนปมรากอยู่ข้างบน และเขียนแตกแขนงลงมาให้ปมใบอยู่ข้างล่าง
  • ความลึกของปม (node depth) หมายถึงจำนวนครั้งของความสัมพันธ์เชิงพ่อ-ลูก ระหว่าง ปมรากถึงปมใดๆ
  • ความสูง (tree height) หมายถึงความลึกของใบที่ลึกที่สุด สำหรับต้นไม้ที่มีแต่รากจะสูง 0 และต้นไม้ว่างอาจตั้งได้ว่าสูง -1
  • ต้นไม้ย่อย (subtree) หมายถึงต้นไม้ย่อยที่ใช้สมาชิกของต้นไม้ที่เราพิจารณา ไปเป็นรากส่งผลให้ ปมลูกปมหลานที่อยู่ใต้สมาชิกตัวนั้นกลายเป็นสมาชิกของต้นไม้ย่อยไปด้วย


 



ส่วนประกอบของต้นไม้

  • ปม (node) หมายถึงสิ่งที่เก็บสมาชิกของต้นไม้
  • ราก (root) หมายถึงปมที่เราใช้เริ่มค้นหาภายในต้นไม้ ถ้าเป็น null หมายถึงต้นไม้ว่าง (empty tree)
  • ปมลูก (child node) หมายถึงปมที่แตกออกมาจากของปมดังกล่าว ส่วนปมที่ปมดังกล่าวแตกมาเรียกว่า ปมพ่อ (parent node) และเรียกปมพ่อของปมพ่อว่า ปมปู่ (grandparent node) และเรียกตามลำดับการนับญาติฝ่ายพ่อไปเรื่อยๆ ส่วนปมลูกของปมลูกก็จะเป็นปมหลาน (grandchild node) ไปเรื่อยๆ ตามลำดับการเรียกญาติฝ่ายลูก
  • ปมที่มีปมพ่อเป็นปมเดียวกันเรียกว่า ปมพี่น้อง (sibling node)
  • ปมที่มี m ลูก เราจะเรียกว่า ปมแบบ m (m-type node)
  • ใบ (leaf node) หมายถึงปมที่ไม่มีปมลูก
  • การเขียนต้นไม้มักเขียนปมรากอยู่ข้างบน และเขียนแตกแขนงลงมาให้ปมใบอยู่ข้างล่าง
  • ความลึกของปม (node depth) หมายถึงจำนวนครั้งของความสัมพันธ์เชิงพ่อ-ลูก ระหว่าง ปมรากถึงปมใดๆ
  • ความสูง (tree height) หมายถึงความลึกของใบที่ลึกที่สุด สำหรับต้นไม้ที่มีแต่รากจะสูง 0 และต้นไม้ว่างอาจตั้งได้ว่าสูง -1
  • ต้นไม้ย่อย (subtree) หมายถึงต้นไม้ย่อยที่ใช้สมาชิกของต้นไม้ที่เราพิจารณา ไปเป็นรากส่งผลให้ ปมลูกปมหลานที่อยู่ใต้สมาชิกตัวนั้นกลายเป็นสมาชิกของต้นไม้ย่อยไปด้ว



พืชใบเลี้ยงคู่

                                   

พืชใบเลี้ยงคู่


คือ พืชที่มีใบเลี้ยง 2 ใบ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นไม่ชัดเจน ใบมีลักษณะกว้าง เส้นใบแตกแขนงเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้ว กลีบดอกมีจำนวน 4 - 5 กลีบ หรือทวีคูณของ 4 – 5 ตัวอย่างพืชใบเลี้ยงคู่ได้แก่ ถั่ว พริก มะม่วง



ลักษณะพืชใบเลี้ยงคู่



-มีใบเลี้ยง 2 ใบ
-ลักษณะเส้นใบเป็นร่างแห
-มีระบบรากแก้ว
-ลำต้นมอง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน
-การเจริญออกทางด้านข้าง
-ส่วนประกอบ ของดอกคือ กลีบดอกมีจำนวนเป็น 4-5 หรือ ทวีคูณของ 4-5       




http://scienceplant.wikispaces.com   เมื่อวันที่  1  กุมภาพัน 2556